วันจันทร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Chapter 9 E-Government




ประวัติความเป็นมา
                รัฐบาลปัจจุบันได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการพัฒนา และการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มาใช้ในภาครัฐ (e-Government) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หน่วยงานภาครัฐที่ให้บริการประชาชน และภาคธุรกิจจะต้องเร่งดำเนินการพัฒนานำ ICT มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการเป็นรูปธรรมอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ ทันสมัยและโปร่งใส เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสารสนเทศ และการบริการภาครัฐอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ขณะเดียวกันนำ ICT มาใช้ เพื่อทำการปฏิรูประบบบริหารองค์กรของรัฐให้ได้เป้าประสงค์ของการบริการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
                จากสภาพการพัฒนาของภาครัฐใน e-Government ที่ผ่านมา แต่ละหน่วยงานมีมาตรฐานที่แตกต่างกันทั้งในด้านข้อมูล การเชื่อมโยงระหว่างเครือข่าย และความไม่พร้อมในโครงสร้างพื้นฐาน และปัจจัยอื่น ๆ ที่สำคัญ ทำให้ระบบที่มีอยู่ไม่สามารถบูรณาการเชื่อมโยงให้เกิดบริการแก่ประชาชน และภาคธุรกิจ ได้ตามเป้าประสงค์ที่กำหนด ดังนั้น เพื่อผลักดันให้การพัฒนา e-Government ได้เป็นรูปธรรมอย่างจริงจัง กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจึงได้จัดทำแผนงานพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ขึ้น ประสานงาน เชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศระหว่างหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและเชื่อถือได้ ลดขั้นตอน โดยได้จัดทำแผนทิศทางการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government Roadmap) ที่กำหนด ยุทธศาสตร์การพัฒนา 4 ประเด็น ได้แก่
                (1) การจัดตั้งหน่วยงาน e-Government Agency
                (2) การพัฒนาการให้บริการภาครัฐผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
                (3) การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้าน IT
                (4) การพัฒนาปรับปรุงกฎหมายระเบียบ และข้อบังคับในกระบวนการให้บริการของภาครัฐ
                ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวข้างต้น ได้จัดทำแผนปฏิบัติการดำเนินงานระยะเวลา 3 ปี โดยในปีแรกเป็นการดำเนินการจัดตั้งหน่วยงาน e-Government Agency และพัฒนาระบบเครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์ เชื่อมโยงระดับกรมวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน ในการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในปีแรกได้กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาระบบเครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงระดับกรมและจัดตั้งหน่วยงาน e-Government Agency ดังนี้

                (1) เพื่อมีเครือข่ายสารสนเทศภาครัฐ (Government Information Network หรือ GIN) ที่เชื่อมต่อกระทรวงทบวง จนถึงระดับกรม เพื่อให้รองรับปริมาณข้อมูลข่าวสารของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นเครือข่าย Prime Minister Operation Center (PMOC), Minister Operation Center (MOC), Department Operation Center (DOC)
                (2) เพื่อมีเครือข่ายสารสนเทศที่รองรับการใช้งานที่หลากหลายรูปแบบ (Multi-media) เพื่อให้รองรับระบบงานของราชการ หรือการบริการประชาชน
                (3) เพื่อมีโครงข่ายสารสนเทศภาครัฐ (GIN) ให้บริการแก่ประชาชนครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ เป็นโครงข่ายที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัยสูง ที่มั่นคงและเชื่อถือได้
                (4) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน Internet Gateway ของภาครัฐโดยการจัดสรร Bandwidth ให้เหมาะสมกับการใช้งานของทางราชการ
                (5) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านความเร็วในการรับ และส่งข้อมูลผ่านระบบ Intranet และ Internet ของภาครัฐ
                (6) เพื่อประหยัดงบประมาณค่าเช่าใช้ Internet Gateway ของหน่วยราชการ
                (7) เพื่อจัดตั้งหน่วยงานระดับปฏิบัติที่ทำหน้าที่ดำเนินงาน และบริหารจัดการงานพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์อย่างเป็นรูปธรรม


รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อี-กัฟเวิร์นเมนต์ (e-Government) คืออะไร?


                รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อี-กัฟเวิร์นเมนต์ (อังกฤษ: e-Government) คือการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการและให้บริการประชาชนและภาคธุรกิจเอกชน โดยภาครัฐ
                วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานภาครัฐ ปรับปรุงการบริการแก่ประชาชน การบริการด้านข้อมูลและสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ประชาชนมีความใกล้ชิดกับภาครัฐมากขึ้น สื่ออิเล็กทรอนิกส์จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเข้าถึงบริการของรัฐ ประการสำคัญจะต้องมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดและเต็มใจจากทั้ง 3 ฝ่าย ได้แก่ ภาครัฐ ภาคธุรกิจและประชาชน
                ผลพลอยได้ที่สำคัญที่จะได้รับคือ ธรรมาภิบาลและความโปร่งใสที่มีมากขึ้นในกระบวนการทำงานของระบบราชการ อันเนื่องมาจากการเปิดเผยข้อมูล และประชาชนสามารถเข้ามาตรวจสอบได้ตลอกเวลาจึงคาดว่าจะนำไปสู่การลดคอร์รัปชันได้ในที่สุด ตัวอย่างเว็บไซต์ของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ได้แก่ เว็บไซต์ gprocurement.go.th ซึ่งเป็นแหล่งรวมการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาล

e-government หรือรัฐอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วยหลักการทีเป็นแนวทาง 4 ประการ คือ
                1. สร้างบริการตามความต้องการของประชาชน
                2. ทำให้รัฐและการบริการของรัฐเข้าถึงได้มากขึ
                3. เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยทัวกัน
                4. มีการใช้สารสนเทศทีดีกว่าเดิม                           


ประเภทของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
  • ภาครัฐสู่ประชาชน (Government to Citizens; G2C) เป็นการให้บริการของรัฐสู่ประชาชนโดยตรง โดยที่บริการดังกล่าวประชาชนจะสามารถดำเนินธุรกรรมโดยผ่านเครือข่ายสารสนเทศของรัฐ เช่น การชำระภาษีให้แก่กรมสรรพากร, การจดทะเบียน, การจ่ายค่าปรับ , การต่ออายุบัตรประชาชน, การเสียหมายถึง กระบวนการเสนอซื้อขายสินค้าหรือบริการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย (อาจมีมากกว่า 1 คน) ที่เข้ามาแข่งชันเสนอราคากันในช่วงเวลาที่กำหนด เป็นการลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มขีดความสามารถในการจัดหาและจัดจำหน่ายสินค้า โดยการประมูลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
                + การประมูลเพื่อขาย เป็นการประมูลที่เริ่มขึ้นจากผุ้ที่ต้องการขายสินค้า นำสินค้ามาเสนอขาย แล้วให้ผู้ที่ต้องการซื้อเข้ามาเสนอราคาแข่งขันกัน โดยผู้ซื้อที่เสนอราคาสูงสุดจะเป็นผู้ชนะการประมูลและได้รับสินค้านั้นไป เช่น การประมูลรูปภาพ
                + การประมูลเพื่อซื้อ เป็นการประมูลที่เริ่มขึ้นจากผู้ที่ต้องการซื้อสินค้า ได้นำลักษณะสินค้าไปลงไว้ แล้วให้ผู้ขายเข้ามาเสนอราคาแข่งขันกัน โดยผู้ขายที่สามารถเสนอราคาได้ต่ำที่สุดจะเป็นผู้ชนะการประมูล ผู้ซื้อจะต้องซื้อสินค้าจากผู้ที่ชนะนั้น เช่น ต้องการซื้อคอมพิวเตอร์
                + Bartering เป็นการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการโดยปราศจากรายการทางการเงินซึ่งจะมีบริษัทที่จัดการเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการให้กับองค์กรเอกชน เช่น barterbrokers.com โดยบริษัทเหล่านี้จะพยายามหาผู้ที่จะมาแลกเปลี่ยน

  • ภาครัฐสู่ภาครัฐ (Government to Government; G2G) เป็นรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปของหน่วยราชการ ที่การติดต่อสื่อสารระหว่างกันโดยกระดาษและลายเซ็นในระบบเดิมในระบบราชการเดิม จะมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วยการใช้ระบบเครือข่ายสารสนเทศ และ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างเป็นทางการเพื่อเพิ่มความเร็วในการดำเนินการ ลดระยะเวลาในการส่งเอกสารและข้อมูลระหว่างกัน นอกจากนั้นยังเป็นการบูรณาการการให้บริการระหว่างหน่วยงานภาครัฐโดยการใช้การเชื่อมต่อโครงข่ายสารสนเทศเพื่อเอื้อให้เกิดการทำงานร่วมกัน , และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ทั้งนี้รวมไปถึงการเชื่อมโยงกับรัฐบาลของต่างชาติ และองค์กรปกครองท้องถิ่นอีกด้วย ระบบงานต่าง ๆ ที่ใช้ในเรื่องนี้ ได้แก่ ระบบงาน Back Office ต่าง ๆ ได้แก่ ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ระบบบัญชีและการเงินระบบจัดซื้อจัดจ้างด้วยอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น อย่างไรก็ดี จะต้องมีกระบวนการในการลดแรงต่อต้านของบุคลากรที่คุ้นเคยกับการทำงานในระบบเดิม ตัวอย่างเช่น การทำหนังสือเดินทาง, วีซ่า หรือข้อมูลอาชญากรข้ามชาติ
  • ภาครัฐสู่เอกชน (Government to Government;G2B)  เป็นการให้บริการภาคธุรกิจเอกชน โดยที่รัฐจะอำนวยความสะดวกต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันกันโดยความเร็วสูง มีประสิทธิภาพ และมีข้อมูลที่ถูกต้องอย่างเป็นธรรมและโปร่งใส เช่น การจดทะเบียนทางการค้า การลงทุน และการส่งเสริมการลงทุน การจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์ การส่งออกและนำเข้า การชำระภาษี และการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก 
  • ภาครัฐสู่พนักงาน (Government to Employees; G2Eเป็นการให้บริการที่จำเป็นของพนักงานของรัฐ กับรัฐบาล โดยที่จะสร้างระบบเพื่อช่วยให้เกิดเครื่องมือที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน และการดำรงชีวิต เช่น ระบบสวัสดิการ ระบบที่ปรึกษาทางกฎหมาย และข้อบังคับในการปฏิบัติราชการ ระบบการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ เป็นต้น

วิวัฒนาการของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
  1. รูปแบบของการประชาสัมพันธ์ข้อมูล
  2. มีการปฏิสัมพันธ์สองทาง ระหว่างประชาชนกับหน่วยงาน สามารถเข้าไปทำธุรกรรมต่างๆ ได้
  3. ประชาชนสามรถเข้าไปที่ลิงค์เพื่อเข้าถึงได้ทุกหน่วยงาน

ประโยชน์ของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
  • สร้างโอกาสให้ประชาชนได้เลือกใช้บริการที่หลากหลายผ่านอินเทอร์เน็ต
  • ประชาชนได้รับบริการจากรัฐที่ดีขึ้น แม่นยำขึ้น สะดวกขึ้น เสียเวลากับรัฐน้อยลง เพราะมีช่องทางบริการใหม่ๆเกิดขึ้นในศูนย์บริการทางโทรศัพท์ (Call Center) , บริการทางเว็บไซต์, การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ (WAP) เป็นต้น
  • รัฐให้ข้อมูลกับประชาชนได้มากขึ้น
  • ลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลและบริการของรัฐ
  • ลดความยุ่งยากของกฎเกณฑ์ เพิ่มความโปร่งใสในการทำงาน
  • หากมีการนำระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์มาใช้อย่างเต็มรูปแบบ ประชาชนจะได้รับความสะดวก รวดเร็วในการติดต่อกับภาครัฐมากขึ้น โดยสามารถขอรับบริการได้ตลอดทุกวัน 24 ชั่วโมง


ข้อดี ข้อเสีย
  • ข้อดี
    -  สร้างโอกาสให้ประชาชนได้เลือกใช้บริการที่หลากหลายผ่านอินเทอร์เน็ต
    - ประชาชนได้รับบริการจากรัฐที่ดีขึ้น แม่นยำขึ้น สะดวกขึ้น เสียเวลากับรัฐน้อยลง เพราะมีช่องทางบริการใหม่ๆ
    - เกิดขึ้นในศูนย์บริการทางโทรศัพท์ (Call Center) , บริการทางเว็บไซต์, การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ (WAP) เป็นต้น
    - รัฐให้ข้อมูลกับประชาชนได้มากขึ้น
    - ลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลและบริการของรัฐ
    - ลดความยุ่งยากของกฎเกณฑ์ เพิ่มความโปร่งใสในการทำงาน
    - หากมีการนำระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์มาใช้อย่างเต็มรูปแบบ ประชาชนจะได้รับความสะดวก รวดเร็วในการติดต่อกับภาครัฐมากขึ้น โดยสามารถขอรับบริการได้ตลอดทุกวัน 24 ชั่วโมง

  • ข้อสีย
          ข้อเสียหลักที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์คือการขาดของความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงประชาชนเพื่ออินเทอร์เน็ตความน่าเชื่อถือของข้อมูลบนเว็บและวาระซ่อนเร้นของกลุ่มรัฐบาลที่อาจมีผลต่อและมีอคติความคิดเห็นของประชาชน มีการพิจารณาจำนวนมากและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินการและการออกแบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์รวมไปถึง disintermedeation ของรัฐบาลและประชาชนผลกระทบต่อปัจจัยทางเศรษฐกิจสังคมและการเมืองช่องโหว่ในการโจมตีไซเบอร์และระเบิดที่สถานะเดิมในพื้นที่เหล่านี้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น