E-Marketing คืออะไร?
E-Marketing ย่อมาจากคำว่า Electronic
Marketing หรือเรียกว่า “การตลาดอิเล็กทรอนิกส์” หมายถึง
การดำเนินกิจกรรมทางการตลาดโดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ
ที่ทันสมัยและสะดวกต่อการใช้งาน เข้ามาเป็นสื่อกลาง ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์
โทรศัพท์ หรือพีดีเอ ที่ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันด้วยอินเทอร์เน็ต มาผสมผสานกับวิธีการทางการตลาด
การดำเนินกิจกรรมทางการตลาด อย่างลงตัวกับลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย
เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กรอย่างแท้จริง
คุณลักษณะเฉพาะของ e-Marketing
- เป็นการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายในลักษณะเฉพาะเจาะจง (Niche Market)
- เป็นลักษณะเป็นการสื่อสารแบบ 2 ทาง (2 Way Communication)
- เป็นรูปแบบการตลาดแบบตัวต่อตัว (One to One Marketing หรือ Personalize Marketing) ที่ลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายสามารถกำหนดรูปแบบสินค้าและบริการได้ตามความต้องการของตนเอง
- มีการกระจายไปยังกลุ่มผู้บริโภค (Dispersion of Consumer)
- เป็นกิจกรรมที่นักการตลาดสามารถสื่อสารไปยังทั่วทุกมุมโลกตลอด 24 ชั่วโมง (24 Business Hours)
- สามารถติดต่อสื่อสารโต้ตอบปฏิสัมพันธ์ได้อย่างรวดเร็ว (Quick Response)
- มีต้นทุนต่ำแต่ได้ประสิทธิผลสามารถวัดผลได้ทันที (Low Cost and Efficiency)
- มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมการตลาดแบบดั้งเดิม (Relate to Traditional Marketing)
- มีการตัดสินใจในการซื้อจากข้อมูลข่าวสารที่ได้รับ (Purchase by Information)
E-Marketing เป็นส่วนผสมแนวความคิดทางการตลาดและทางเทคนิครวมเข้าไว้ด้วยกันทั้งด้านการออกแบบ
(Design) ,การพัฒนา (Development) ,การโฆษณาและการขาย
(Advertising and Sales) เป็นต้น (ตัวอย่างกิจกรรม ได้แก่Search
Engine Marketing ,E-mail Marketing ,Affiliate Marketing ,Viral Marketing ฯลฯ)
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ธุรกิจและลูกค้า เนื่องจากระบบทางอิเล็กทรอนิกส์สามารถสนับสนุนการร้องขอข้อมูลของลูกค้าการจัดเก็บประวัติและพฤติกรรมของลูกค้าเอาไว้รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ส่งผลต่อการเพิ่มและรักษาฐานลูกค้า
(Customer Acquisition and Retention) และอำนวยประโยชน์ในการประกอบธุรกิจอย่างครบถ้วน
ในขณะที่การตลาดแบบดั้งเดิม (Traditional
Marketing) จะมีรูปแบบที่แตกต่างจาก
E-Marketing อย่างชัดเจนโดยการตลาดแบบดั้งเดิมนั้นจะมีกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายจะไม่เน้นทากับบุคคลใดบุคคลหนึ่งและมักจะใช้วิธีการแบ่งส่วนตลาด
(Marketing Segmentation) โดยใช้เกณฑ์สภาพประชากรศาสตร์หรือสภาพภูมิศาสตร์และสามารถครอบคลุมได้บางพื้นที่ในขณะที่ถ้าเป็น E-Marketing จะสามารถครอบคลุมได้ทั่วโลกเลยทีเดียว ด้วยเหตุนี้ธุรกิจต่าง
ๆ จึงได้ให้ความสนใจกับอินเทอร์เน็ตเป็นอย่างมากรวมถึงได้มีการนาเอาแนวคิด E-Marketing
มาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายเพื่อทำการตลาดออนไลน์ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
ความแตกต่างกันระหว่าง e-Marketing ,e-Business
และ e-Commerce
E-Marketing คือ รูปแบบการทาการตลาดในรูปแบบหนึ่งโดยใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์เครื่องมือดิจิตอลเข้ามาช่วยในการทำการตลาดแต่ในความหมายสาหรับ
E-Business หรือ Electronic Business นั้นจะมีความหมายที่ใกล้เคียงกับคำว่า E-Commerce หรือ Electronic Commerce มากกว่า
เพียงแต่ว่าความหมายของ E-Business จะมีขอบเขตที่กว้างกว่าโดยหมายถึง
การทำกิจกรรมในทุก ๆ ขั้นตอนของกระบวนการธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือเรียกว่า “ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์” ทั้งการทำการค้าการซื้อการขายการติดต่อประสานงานงานธุรการต่าง
ๆ ที่เกิดขึ้นภายในสำนักงานและการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นกระบวนการในการดำเนินการทางธุรกิจที่อาศัยระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์มาใช้ในการดำเนินงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางธุรกิจโดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
(Added Value) ตลอดกิจกรรมทางธุรกิจ (Value Chain) และลดขั้นตอนของการที่ต้องอาศัยแรงงานคน
(Manual Process) มาใช้แรงงานจากเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (Computerized
Process) แทน รวมถึงช่วยให้การดำเนินงานภายในภายนอกมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและยังเป็นการสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้ามากขึ้นอีกด้วย
ตัวอย่างเช่น การควบคุมสต๊อคและการชำระเงินให้เป็นระบบอัตโนมัติ ดำเนินการได้รวดเร็วและทำได้ง่ายลักษณะการนำ
E-Business มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจ
ลักษณะการนำ E-Business มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจ
ได้แก่
- การเชื่อมต่อระหว่างกันภายในองค์กร (Intranet)
- การเชื่อมต่อระหว่างกันกับภายนอกองค์กร (Extranet)
- การเชื่อมต่อระหว่างกันกับลูกค้าทั่วโลก (Internet)
การวางแผนการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (E-marketing Planning)
การวางแผนการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (E-marketing Planning) เป็นสิ่งจำเป็นในการทำตลาดอิเล็กทรอนิกส์ อาจจะเป็นการวางแผนทำวิจัยตลาดหรือทำการสือสารทางการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากแผนงานทำการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketing Plan) อยู่บนรากฐานของกลยุทธ์หรือวัตถุประสงค์ของการทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ขั้นตอนที่ควรจะกระทำเมื่อมีการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดไปจนถึงการดำเนินการตามกลยุทธ์ทางการตลาด ดังรูป
จากรูป แสดงให้เห็นตัวอย่างกรอบแนวคิดของการวางแผนการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ถึงกิจกรรมทางการตลาดอิเล็กทรอนิกส์จะชี้ให้เห็นถึงกลยุทธ์ของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ในทางกลับกันได้ชี้ให้เห็นถึงแผนงานทางการตลาดอิเล็กทรอนิกส์
1. การวิเคราะห์สถานการณ์ (Situation Analysis)
เป็นการวิเคราะห์ถึงองค์ประกอบและสถานการณ์ที่สำคัญในปัจจุบันของสินค้าหรือบริการจุดประสงค์ของการวิเคราะห์สถานการณ์คือ เพื่อทำความเข้าใจถึงสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ทั้งในปัจจุบันและในอนาคตของธุรกิจที่ดำเนินการอยู่ซึ่งจะทำให้ธุรกิจสามารถตั้งวัตถุประสงค์ที่เป็นจริง สอดคล้องกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในตลาดได้
2. การกำหนดวัตถุประสงค์ (Objective Setting)
การกำหนดวัตถุประสงค์จะต้องมีการระบุให้ชัดเจน เพราะว่าจะส่งผลกระทบถึงองค์กรได้ถ้ากำหนดวัตถุประสงค์ไม่ชัดเจน เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ช่วยกำหนดทิศทางการทำงาน การสื่อสารไปยังตลาดเป้าหมายให้กับองค์กร คุณค่าของวัตถุประสงค์สามารถถูกทดสอบด้วยเครื่องมือที่มีชื่อว่า SMART mnemonic ตัวอย่าง เช่น วัตถุประสงค์ที่มีลักษณะ เฉพาะเจาะจง(Specific) วัดผลได้(Measurable) ประสบความสำเร็จได้จริง (Achievable) ปฏิบัติได้จริง (Realistic) และมีข้อจำกัดเรื่องเวลา (Time-Constraints)
3. กลยุทธ์ (Strategy)
ธุรกิจจะดำเนินงานอย่างไรเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ วิธีหรือแนวทางในการดำเนินการนั้น คือ กลยุทธ์ซึ่งประกอบอยู่ในแผนการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ กลยุทธ์เป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ
4. กลวิธี (Tactics)
ความคิดหลักของการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix: 4P) จากมุมมองของลูกค้า ในแง่ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ประกอบไปด้วย
สินค้า (Product) เป็นความต้องการของลูกค้าที่มีเว็บไซต์เป็นกลไกสำหรับอธิบายว่าคุณค่าของสินค้าจะตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างไร
ราคา (Price) ลูกค้าออนไลน์มีแนวโน้มที่จะเปรียบเทียบราคาสินค้ากับเว็บไซต์อื่นๆและแหล่งซื้อดั้งเดิมอื่น
แหล่งจัดจำหน่าย (Place) ความสะดวกในขั้นตอนการสั่งซื้อและการตอบสนองต่อลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์
การส่งเสริมการตลาด (Promotion) เป็นกลยุทธ์หรือเทคนิกต่างๆในการดึงดูดลูกค้าเข้ามายังไซต์เป็นตัวช่วยในเรื่องของการส่งเสริมการตลาดอิเล็กทรอนิกส์และมีส่วนช่วยผลักดันการตัดสินใจซื้อของลูกค้าได้ เช่น การโฆษณา (Advertising) การส่งเสริมการขาย (Sales Promotion) ประชาสัมพันธ์ (PR) และการตลาดทางตรง (Direct Marketing) ถูกเป็นส่วนหนึ่งในดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาดโดยผู้เชี่ยวชาญทางการตลาด ส่วนผสมทางการตลาดถูกขยายเพิ่มเติมจาก 4Ps เป็น 7 ส่วน (7Ps) โดยอีก3ส่วนที่เพิ่มเข้าไปสะท้อนถึงการให้บริการ ได้แก่ บุคคล(People) ,กระบวนการ (Processes) และ หลักฐานทางการกายภาพ (Physical Evidence) ก็คือการออกแบบเว็บไซต์หรือบรรจุภัณฑ์ของสินค้า บุคคล กระบวนการ และหลักฐานทางการกายภาพเป็นสิ่งสำคัญในแง่ของการให้บริการ ดังนั้นมันจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
5. การดำเนินงาน (Actions)
ส่วนประกอบของการดำเนินการตลาดอิเล็กทรอนิกส์หมายถึงกิจกรรมที่ผู้จัดการต้องปฏิบัติเพื่อให้แผนงานบรรลุผลสำเร็จ เมื่อมีการระบุว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร ควรจะหาคำตอบในคำถามต่อไปนี้
- ระดับการลงทุนของช่องทางออนไลน์เพียงพอต่อการให้บริการหรือไม่
- ต้องมีการฝึกอบรมพนักงานหรือไม่
- กิจกรรมไดที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและการดูแลเว็บไซต์
ในขั้นตอนนี้คือ การสรุปการดำเนินงานทั้งหมดที่ต้องการเกิดขึ้นในแผนการตลาดอิเล็กทรอนิกส์
6. การควบคุม (Control)
ส่วนประกอบของการควบคุมในแง่แผนการตลาดอิเล็กทรอนิกส์สามารถทำผ่านการวิจัยตลาดเพื่อให้ได้มุมมองและความคิดเห็นของลูกค้ารวมถึงการวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือของเว็บไซต์ ที่ใช้เทคโนโลยีในการควบคุมติดตามผลเพื่อประเมินว่าการดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่
กระบวนการประเมิน
- การส่งเสริมธุรกิจ(กำไรที่ได้จากช่องทางออนไลน์-รายได้ ต้นทุน ผลตอบแทนจากการลงทุน)
- ประสิทธิภาพทางการตลาด(ผลลัพธ์: ยอดขาย อัตราที่แสดงว่าเราขายสินค้าได้กี่ชิ้นจากจำนวนครั้งของการคลิกทั้งหมด ระดับพึงพอใจในช่องทางออนไลน์)
- ประสิทธิภาพการตลาดอิเล็กทรอนิกส์(จำนวนครั้งที่คนเข้ามาเปิดเว็บไซต์ จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์และอัตราที่แสดงว่าเราขายสินค้าได้กี่ชิ้นจากจำนวนครั้งของการคลิก)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น