วันเสาร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Chapter 2 E-Business Infrastructure

E-business infrastructure คืออะไร?


           E-business infrastructure หมายถึง การรวมกันของฮาร์ดแวร์เช่น Server, Client PC ในองค์กร รวมถึงการใช้เครือข่ายในการเชื่อมโยงฮาร์ดแวร์เหล่านี้และการใช้งานซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการส่งมอบบริการให้กับผู้ใช้งานที่อยู่ในบริษัทและยังรวมถึงคู่ค้าและลูกค้าของตน ซึ่งคำว่า Infrastructure ยังรวมไปถึงสถาปัตยกรรมทางด้าน Hardware, Software และเครือข่ายที่มีอยู่ในบริษัทด้วย และท้ายที่สุดยังรวมไปถึงกระบวนการในการนำเข้าข้อมูลและเอกสารเข้าสู่ระบบ E-business


ส่วนประกอบของโครงสร้างพื้นฐาน E-business infrastructure components

              1. E-business service applications layer ชั้นของแอปฟลิเคชั่น คือ ชั้นของโปรแกรมต่าง ๆ จะเป็นการใช้แอปฟลิเคชั่นโดยไม่สนใจซอฟต์แวร์
              2. System Software layer การนำโปรแกรมที่มาใช้งานให้ประสบความสำเร็จในชั้นที่ 1 เป็นเรื่องของการจัดการซอฟต์แวร์

              3. Transport or Network layer เป็นชั้นที่ใช้ในการสื่อสาร เช่น พวกโปรโตคอลต่าง ๆ ประสานงานกับเครื่องแม่ข่ายกับลูกข่าย
              4. storage/Physical layer เป็นชั้นที่ใช้เก็บพวกข้อมูลต่าง ๆ เช่น ฮาร์ดดิกส์ แรม ว่าเก็บข้อมูลไว้ในส่วนไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ใช้อะไรเก็บ
              5. Content and Data layer ชั้นนี้เกี่ยวข้องกับพวก อินเตอร์เน็ต เอ็กทราเน็ต และอินทราเน็ต

Key management issues of e-business infrastructure
1. ประเภทของ E-business ที่เกี่ยวข้องกับแอปฟลิเคชั่่น เช่น การจัดซื้อจัดจ้าง การรักษาความปลอดภัยของการจัดซื้อ การบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์ เป็นต้น
2. ใช้เทคโนโลยีอะไรเพื่อให้ถึงเป้าหมาย เช่น e-mail เป็นต้น
3. ทำอย่างไรเพื่อจะให้บริการต่างๆ มีประสิทธิภาพ
4. จะนำบริการนี้ไปติดตั้งไว้ที่ไหนอย่างไร เช่นเอาไปติดตั้งที่เครื่อง server เอง หรือ ใช้บริการบริษัทภายนอกองค์กร



Internet technology
              Internet ช่วยให้การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องที่เชื่อมต่อทั่วโลก แต่ในการถ่ายโอนข้อมูลนั้นไร้รอยต่อของวิธีการเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น การร้องขอข้อมูลจะถูกส่งจากคอมพิวเตอร์ไคลเอนต์และอปุกรณ์มือถือที่มีผู้ใช้ ร้องขอการบริการให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ที่เก็บข้อมูลโปรแกรม ประยุกต์ทางธุรกิจและโฮสต์ที่ส่งมอบการบริการในการตอบสนองต่อการร้องขอ ดังนั้นอินเทอร์เน็ตจึงเป็นระบบเขนาดใหญ่ในรูปแบบ Client /Server

Intranet applications 
อินทราเน็ตถูกใช้อย่างกว้างขวางเพื่อรองรับการขายในด้านธุรกิจ e-commerce โดยเน้นทำงานจากฝ่ายการตลาดเป็นหลัก ซึ่งจะช่วยสนับสนุนกิจกรรมหลักของ supply-chain management 



Extranet applications
              เอ็กซ์ทราเน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลโดยควบคุมจากภายนอกองค์กร สำหรับธุรกิจที่เฉพาะเจาะจง



Firewalls
              ถ้าแปลเป็นภาษาไทย จะหมายถึง กำแพงไฟ ซึ่งน่าจะหมายถึงการป้องกันการบุกรุก โดยการสร้างกำแพง อย่างไรก็ตาม ความหมายของ Firewall สามารถอธิบายได้ดังนี้ คือ Firewall เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับป้องกันระบบ Network (เครือข่าย) จากการสื่อสารทั่วไปที่ถูกบุกรุก จากผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต เป็นเรื่องเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยในระบบ Network หรือระบบเครือข่าย การป้องกันโดยใช้ระบบ Firewall นี้จะเป็นการกำหนดกฏเกณฑ์ในการควบคุมการเข้า-ออก หรือการควบคุมการรับ-ส่งข้อมูล ในระบบเครือข่าย นั่นเอง




Web technology
              คำว่า World Wide Web, หรือเรียกสั้นๆว่า ‘web’ คือขั้นตอนมาตรฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข้อมูลสาธารณะบนโลกอินเทอร์เน็ตโดยรูปแบบเอกสารพื้นฐานคือ HTML (Hypertext Markup Language) หรือ การบริการหนึ่งในรูปแบบต่างๆของการให้บริการของอินเตอร์เน็ตสำหรับผู้พัฒนาเว็บหรือผู้ที่ต้องการเขียนโปรแกรมเพื่อติดต่อสื่อสารผ่านเว็บ หรือ อินเตอร์เน็ต แล้วจะต้องรู้และเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับโปรโตคอล (Protocal) - มาตรฐานในการรับส่งข้อมูล

Web browsers servers
              เว็บเบราว์เซอร์ (web browserเบราว์เซอร์ หรือโปรแกรมดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ

Web servers
              เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) ความหมาย คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งให้บริการที่เก็บเว็บไซต์ (Server) แล้วให้ผู้ใช้ (Client) เรียกชมหน้าเว็บไซต์ได้โดยใช้โพรโทคอล HTTP ผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์


Internet - access software applications



Web 1.0
              ในยุคแรกเริ่มของเว็บไซต์ที่อินเตอร์เน็ตยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก มีเพียงกลุ่มคนเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ใช้งานอุปกรณ์ในการใช้งานอินเตอร์เน็ตอย่างเครื่องคอมพิวเตอร์และโมเด็มยังมีราคาแพง ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตยังมีจำนวนน้อยและค่าใช้จ่ายในการใช้งานมีราคาสูงและความเร็วในการเชื่อมต่อและความเร็วในการใช้งานยังมีจำกัด ทำให้เว็บไซต์ในยุคนั้นมีลักษณะการแสดงเนื้อหาเป็นข้อความและภาพนิ่งเป็นส่วนใหญ่
              web 1.0 เป็นเว็บสมัยดั้งเดิมเป็นเว็บที่อยู่ในสมัยยุคแรกที่ internet กำลังดัง เพราะไอ้เจ้า " web 1.0 " ตัวนี้นี่แหละที่ทำให้โลกของ internet ได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะ " web 1.0 " เป็นเว็บไซต์ที่นำเสนอข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ด้านต่างๆ ที่เราอยากรู้ ซึ่งจะส่งเนื้อหาต่างๆ ขึ้นหน้าจอคอมพิวเตอร์เพียงเดียวเพื่อนำเสนอผู้ที่มาเข้าชม พูดได้ง่ายๆ " web 1.0 " ก็คือเว็บไซต์ต่างๆ ที่เราเปิดเพื่อค้นหาข้อมูลในการทำรายงานส่งอาจารย์นั่นเอง ในทฤษฎีของการสื่อสารถือว่าเป็นการสื่อสารทางเดียว (one-way comunication) เพราะไม่มีการตอบรับจากผู้ที่ได้รับข้อมูล (แต่สามารถส่ง email หาผู้เขียนได้)


Web 2.0
              Web 2.0 คือการให้ความหมายของสิ่งที่เปลี่ยนไปของเทคโนโลยีเว็บไซต์ โดยกำหนดตัวเลขว่าเป็น generation ที่ 2 ของเว็บ สิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ Web 2.0 นั้นก็ เช่น AJAX, Blog, Feeds, Podcast, Social networking ฯลฯ โดย Web 2.0 application จะคุณสมบัติดังต่อไปนี้- ให้ ความสำคัญกับผู้เข้าชมเว็บไซต์ โดยที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์จะมีส่วนร่วมต่อเว็บไซต์มากขึ้น ไม่ใช่แค่เข้ามาชมเว็บไซต์ที่เจ้าของเว็บจัดทำขึ้นเท่านั้น ผู้เข้าชมเว็บไซต์สามารถสร้าง content ของเว็บไซต์ขึ้นมาได้เองหรือสามารถ tag content ของเว็บไซต์ (คล้ายๆการกำหนด keyword ที่เกี่ยวข้องกับ content โดยผู้เข้าชมเว็บไซต์เป็นผู้กำหนดขึ้น) ตัวอย่างเช่น Digg, Flickr, Youtube , Wiki- Web 2.0 application จะมีคุณสมบัติที่เรียกว่า RIA (Rich Internet Application) นั่นคือ Web 2.0 application จะมี User Interface ที่ดียิ่งขึ้น เช่น คุณสมบัติ Drag & Drop ซึ่งใช้กันใน Desktop Application ทั่วๆไปก็สามารถใช้ได้บนเว็บเช่นกัน โดยเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการสร้าง RIA เช่น AJAX, Flash              คุณสมบัติที่เรียกว่า mash-up ก็เป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งของ Web 2.0 application นั่นก็คือการที่สร้าง Web application แล้วสามารถเปิด service ของ Web application ให้คนอื่นๆ สามารถมาใช้ได้ ยกตัวอย่างเช่น สร้าง Web application เกี่ยวกับระบบการซื้อขายสิ้นค้า online ขึ้นมาโดยสามารถ mash-up ระบบที่สร้างเข้ากับ Google maps ได้อย่างง่ายดายเพื่อที่จะทำ Web application ที่สร้างขึ้นมานั่นมีความสามารถในการ ซื้อขายสินค้า online แล้วยังสามารถคำนวณระยะทางและเวลาในการขนส่งสินค้าไปให้ลูกค้า รวมทั้งสามารถพิมพ์แผนที่เส้นทางได้ โดยที่ไม่ต้องสร้าง Application สำหรับสร้างแผนที่เอง โดยเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องคือ Feeds, RSS, SOA, Web services



Web 3.0
              Web 3.0 เป็นการนำแนวคิดของ Web 2.0 มาทำให้ Web นั้นสามารถจัดการข้อมูลจำนวนมากๆ ให้อยู่ในรูปแบบ Metadata ที่หมายถึงข้อมูลที่บอกรายละเอียดของข้อมูล (Data about data) ทำให้เว็บกลายเป็น Semantic Web คือ ตัว Web จะทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น แล้วให้ Tags ตามความเหมาะสมให้เราแทน โดยข้อมูลแต่ละ Tag จะมีความสัมพันธ์กับอีก Tag หนึ่งโดยปริยาย ทำให้อินเตอร์เน็ตกลายเป็นฐานข้อมูล ความรู้ขนาดใหญ่ ที่ข้อมูลทุกอย่างถูกเชื่อมต่อกันอย่างเป็นระบบมากขึ้น
              Web 3.0 จะพัฒนาไปในลักษณะ Segment of One คือ Segment ที่มีบุคคลแค่คนเดียว หรือ ตอบโจทย์ความเป็นส่วนบุคคล เช่น อยากไปเที่ยวภูเขาไฟฟูจิ เมื่อค้นข้อมูลแล้วเว็บไซต์จะ เชื่อมโยงข้อมูลทั้งหมดออกมา ไม่ว่าจะจากสายการบินต่างๆ แพ็กเกจไหนดีที่สุด และนำมาเช็ค กับตารางของผู้ใช้ว่าตารางเวลาตรงกันไหม หรือจะนำไปเช็คกับตารางของเพื่อนที่ญี่ปุ่นใน Social Network เพื่อนัดเวลาที่ตรงกันเพื่อพบปะทานข้าวร่วมกันก็ได้

              ในยุคสื่อดิจิตอล โลกอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสำคัญในการประยุกต์ใช้ไอทีเพราะอินเทอร์เน็ตช่วยให้ เข้าถึงข้อมูลข่าวสารรอบโลกได้อย่างรวดเร็วช่วยให้ติดต่อกับคนหรือหน่วยงานภายในและนอกประเทศได้ ภายในพริบตา รูปแบบที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึง (view ,create ,copy ,share etc.) ได้ทุกที่ ทุกเวลา ด้วย อุปกรณ์ใดๆที่ เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ ก้าวต่อไปของสื่อใหม่จะเป็นการเชื่อมโยงและผสมผสาน Digital content เหล่านั้นเข้าด้วยกันที่เรียกว่า Mash Up อันเป็นพื้นฐานของเว็บ 3.0 ที่ได้รับการพัฒนาให้มี ความฉลาดรู้ หรือ มี AI (Artificial Intelligence) สามารถค้นหา และคาดเดาความต้องการของผู้บริโภค แต่ละคนได้  อุปกรณ์ไอที Gadget ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Notebook/ Netbook/ Smart Phone / MID (Mobile Internet Device), Digital Photo frame, Ebook หรือแม้แต่อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน (Digital home appliance) จะได้รับการ พัฒนาให้มีความฉลาดในการทำงานมากขึ้น ทั้งขนาด คุณสมบัติ การทำงาน และราคา


Web 4.0
              Web 4.0 นั้นประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ Ubiquity, Identity และ Connection กล่าวคือ จะพบได้ทุกหนทุกแห่ง ไม่จำกัดว่าจะเป็น Device ใด สามารถระบุตัวตนของผู้ใช้งานได้อย่างแน่ชัด รวมถึงอาจจะ Integrate ไปกับอุปกรณ์อื่นๆ ที่ช่วยในการระบุตัวตน เช่น GPS และก็สามารถใช้งาน ได้ทุกหนทุกแห่ง สามารถเชื่อมต่อได้ง่ายจนไม่รู้สึกถึงความยุ่งยากใด ในระหว่างการทำงานหนึ่งๆ อาจจะมีข้อความแทรกขึ้นมาทันทีก็ได้ ลักษณะของ Web 4.0 จะไม่ได้มองไปที่ “ข้อมูล” อีกต่อไป เพราะจะก้าวข้ามกลายเป็น Activity หรือกิจกรรมแทน เพราะได้ผ่านจุดของ Web 3.0 ที่สามารถ สื่อสารกันไปแล้ว ข้อมูลทุกอย่างจึงแลกเปลี่ยนได้อย่างอิสระจนมองข้ามมันไปได้ว่าข้อมูลอยู่ที่ไหนหรือมาจากไหน แต่กลับไปสนใจแทนว่า หากจะทำกิจกรรมหนึ่งๆ มีที่ไหนที่มี Application ที่จะสนับสนุนกิจกรรม ที่ผู้ใช้งานต้องการได้ เช่น หากต้องการจะซื้อเสื้อ ข้อมูลเสื้อจากทุกๆ แหล่งที่รองรับกิจกรรมนี้ก็ จะถูกส่งมารวมกัน โดยอาจมีข้อมูลประกอบว่าร้านอยู่ที่ไหนจาก Application ด้านข้อมูลสถานที่ และสามารถเลือกผู้ส่งสินค้าได้ จาก Application จากผู้ให้บริการด้านการส่ง เป็นต้น

ลักษณะของ Web 4.0
1) More access to data (สามารถเข้าถึง data ได้มากขึ้น)
              1.1 Access to more products (เข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้หลายตัวมากขึ้น) อย่างเช่น เสื้อผ้า เครื่องประดับ อุปกรณ์การกีฬา
              1.2 Access to more images (เข้าถึงรูปภาพได้มากขึ้น)
              1.3 All customer reviews (สามารถดึงคำติชมของลูกค้าทุกคน)
              1.4 More product attributes (สามารถเข้าถึงข้อมูลของสินค้ามากขึ้น)

2) Extended cabilities (มีความสามารถมากขึ้น)
              2.1 Extended Search functionality (ค้นหาข้อมูลด้วยรายละเอียดมากขึ้น)
              2.2 Save for Later remote shopping cart (เลือกสินค้าโดยที่ไม่ใส่ตะกร้าได้)
              2.3 Wish list search (สามารถค้นหาสินค้าในรายการที่ผู้อื่นต้องการ)

3) Improved usability
              3.1 More documentation and code samples (มีคู่มือการใช้และโปรแกรมตัวอย่างมากขึ้น)
           3.2 Localized error messages. New error messages include very specific information about errors in your requests and provide troubleshooting guidelines (error messagesมีข้อมูลมากขึ้นที่บอกถึงความผิดพลาดและช่วยบอกถึงวิธีแก้)
           3.3 Built-in help functionality ทำให้ผู้พัฒนาสามารถเข้าถึง API ได้ง่าย ช่วยในการเรียนรู้และการนำไปใช้


DIFFERING USE OF APPLICATIONS AT LEVELS OF MANAGEMENT WITHIN COMPANIES




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น