วันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Chapter 4 E-Commerce


ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Business) คืออะไร?
                ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Business) คือ กระบวนการดําเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายที่เรียกว่าองค์การเครือข่ายร่วม (Internetworked Network)  ไม่ว่าจะเป็นการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) การติดต่อสื่อสารและการทํางานร่วมกัน หรือแม้แต่ระบบธุรกิจภายในองค์กร

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) คืออะไร?
                พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์
                พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุหรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้


A Framework for Electronic Commerce


การประยุกต์ใช้ (E-commerce Application)                
- การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Retailing)                
- การโฆษณาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Advertisement)                
- การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auctions)                
- การบริการอิเล็กทรอนิกส์(E-Service)                
- รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government)                
- การพาณิชย์ผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ (M-Commerce : Mobile Commerce)


การสนับสนุน (E-Commerce Supporting)                
1. การพัฒนาระบบงาน E-Commerce Application Development                
2. การวางแผนกลยุทธ์ E-Commerce Strategy                
3. กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce Law                
4. การจดทะเบียนโดเมนเนม Domain Name Registration                
5. การโปรโมทเว็บไซต์ Website Promotion


The Dimensions of E-Commerce


การจัดการ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
  • Brick - and - Mortar organization องค์กรที่ทำธุรกิจ แบบ Off-line คือ การนำเสนอขายสินค้า ผ่านช่องทางการตลาด  ถึงมือผู้บริโภค สามารถจับต้องสินค้า ทดลองใช้ได้ แต่มีข้อจำกัดด้าน พื้นที่การขาย ที่สามรถทำได้ แค่ ในเมือง ๆ หนึ่ง ไม่สามารถครอบคลุม กลุ่มลูกค้าที่อยู่กระจัดกระจาย
  • Virtual Organization องค์การที่นำเสนอขายสินค้า ผ่านระบบเครือข่าย หรือขายแบบ On-line
  • Click - and - Mortar Organization องค์การที่มีการผสมผสานการนำเสนอขาย ทั้งแบบ Off-line ที่นำเสนอขายทางช่องทางการตลาดทั่วไป และแบบ On-line ที่นำเสนอขายแบบผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต


ประเภทของ E-Commerce

กลุ่มธุรกิจที่ค้ากําไร (Profits Organization)                
1. Business-to-Business (B2B)                
2. Business-to-Customer (B2C)                
3. Business-to-Business-to-Customer (B2B2C)                
4. Customer-to-Customer (C2C)                
5. Customer-to-Business (C2B)                
6. Mobile Commerce

กลุ่มธุรกิจที่ไม่ค้ากําไร (Non-Profit Organization)
                
1. Intrabusiness (Organization) E-Commerce                
2. Business-to-Employee (B2E)                
3. Government-to-Citizen (G2C)                
4. Collaborative Commerce (C-Commerce)                
5. Exchange-to-Exchange (E2E)                
6. E-Learning



E-Commerce Business Model 

                แบบจําลองทางธุรกิจ (E-Commerce Business Model) หมายถึง วิธีการดําเนินการทางธุรกิจที่ช่วยสร้างรายได้ อันจะทําให้บริษัทอยู่ต่อไปได้ นอกจากนี้ยังรวมถึงกิจกรรมที่ช่วยสร้างมูลค้าเพิ่ม (Value Add) ให้กับสินค้าและบริการ วิธีการที่องค์กรคิดค้นขึ้นมาเพื่อประยุกต์ใช้ทรัพยากรขององค์กรอย่างเต็มที่ อันจะก่อให้เกิดผลกําไรสูงสุดและเพิ่มมูลค้าของสินค้าและบริการ


ข้อดีและข้อเสียของ E-Commerce

ข้อดี                
1.สามารถเปิดดําเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง                
2.สามารถดําเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก                
3.ใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ํา                
4.ไม่ต้องเสียค่าเดินทางในระหว่างการดําเนินการ                
5.ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์ และยังสามารถประชาสัมพันธ์ในครั้งเดียวแต่ไปได้ทั่วโลก          
6.สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ตได้ง่าย                
7.ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาสําหรับผู้ซื้อและผู้ขาย                
8.ไม่จําเป็นต้องเปิดเป็นร้านขายสินค้าจริง ๆ

ข้อเสีย
                
1.ต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยของระบบที่มีประสิทธิภาพ                
2.ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตได้                
3.ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการชําระเงินผ่านทางบัตรเครดิต                
4.ขาดกฎหมายรองรับในเรื่องการดําเนินการธุรกิจขายสินค้าแบบออนไลน์                
5.การดําเนินการทางด้านภาษียังไม่ชัดเจน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น