วันจันทร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Chapter 7 Electronic Supply Chain Management


SCM คืออะไร?


                นับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจการดำเนินธุรกิจต่างๆเกือบทุกสาขาได้หยุดชะงักหรือชะลอตัวลงหรือแม้กระทั่งปิดกิจการไป เนื่องจากกิจการส่วนใหญ่ประสบปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงินยอดขายลดลง ทำให้มีสินค้าคงเหลืออยู่เป็นจำนวนมาก ต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้ผู้ผลิตจำเป็นต้องหันมาพัฒนาผลิตภัณฑ์และกำหนดกลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าและการแข่งขัน
                การใช้กลยุทธ์เดิม ๆ คือ การเร่งพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์และบริการให้มีความโดดเด่นและใช้กลยุทธ์ด้านราคาด้วยการลดต้นทุนและตัดค่าใช้จ่ายลง แต่องค์กรทุกองค์กรต่างใช้กลยุทธ์ที่ไม่แตกต่างกันจนกระทั่งไม่ได้เกิดความได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันมากนัก แต่ในปัจจุบันมีแนวความคิดที่กาลังได้รับความสนใจและให้ความสำคัญกันมาก คือ การบริหารซัพพลายเชน (Supply Chain Management : SCM) ระบบที่จัดการการบริหารและเชื่อมโยงเครือข่ายตั้งแต่ suppliers, manufacturers, distributors เพื่อส่งมอบสินค้าหรือบริการให้ลูกค้าโดยมีการเชื่อมโยงระบบข้อมูล วัตถุดิบ สินค้าและบริการ เงินทุน รวมถึงการส่งมอบเข้าด้วยกัน เพื่อให้การส่งมอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถส่งมอบได้ตรงตามเวลาและความต้องการ

The Benefits of supply chain management


ขั้นตอนวิวัฒนาการไปสู่ระบบการจัดการซัพพลายเชน
            การกำเนิดระบบการบริหารซัพพลายเชน กล่าวกันว่า มีต้นแบบมาจากการส่งลำเลียงเสบียงอาหารและอาวุธยุโธปกรณ์ตามระบบส่งกำลังบำรุงของทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสงครามที่ต้องการความมั่นใจว่าอาวุธและเสบียงอาหารจะต้องจัดส่งให้เพียงพอกับความต้องการและไปยังสถานที่ที่กำหนดอย่างถูกต้องตรงเวลา เพื่อให้เกิดความสูญเสียน้อยที่สุด จึงจำเป็นต้องอาศัยการวางแผนจัดลำดับก่อนหลังและรักษาประสิทธิภาพในการสื่อสารที่รวดเร็วและแม่นยำ ซึ่งต่อมาแนวความคิดดังกล่าวได้นำมาพัฒนาและดัดแปลงให้กับธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรมเพื่อมุ่งสร้างคุณค่าและความพึงพอใจแก่ลูกค้าด้วยต้นทุนที่ลดลง โดย Helen Peek และคณะได้กล่าวถึงระยะของการเปลี่ยนแปลงธุรกิจเพื่อเข้าสู่กระบวนบริหารซัพพลายเชน 4 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 องค์กรในรูปแบบพื้นฐาน (The Baseline Organization)
                เป็นรูปแบบการบริหารจัดการแบบดั้งเดิมที่ต้องการสร้างผลกำไรสูงสุดขององค์กร โดยเน้นความชำนาญในการทางานของแต่ละแผนก/ฝ่าย ซึ่งองค์กรในรูปแบบนี้อาจไม่สามารถปรับแผนการผลิตและการจัดหาวัตถุดิบได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในตลาดของผู้บริโภค เนื่องจากแต่ละแผนก/ฝ่าย ต่างทำงานเป็นอิสระต่อกันไม่เกี่ยวกัน

ระยะที่ 2 องค์กรที่รวมหน้าที่ทางธุรกิจเข้าด้วยกัน (The Functionally Integrated Company)
                ในระยะนี้องค์กรจะเริ่มจัดตั้งเป็นบริษัท โดยในองค์กรได้มีการรวบรวมหน้าที่/ลักษณะงาน ที่เป็นประเภทเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันไว้ในกลุ่มงาน/ฝ่าย เดียวกัน ซึ่งจะไม่มีแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบออกจากันอย่างเด็ดขาดเหมือนระยะแรก เช่น ฝ่ายจัดการวัตถุดิบมีหน้าที่จัดซื้อ จัดสรร ควบคุมการใช้วัตถุดิบและปัจจัยการผลิตอื่น ๆ ฝ่ายการผลิตมีหน้าที่วางแผนการผลิต และควบคุมคุณภาพการผลิต และฝ่ายขายมีหน้าที่วางแผนการตลาดและขายสินค้า เป็นต้น

ระยะที่ 3 องค์กรที่รวมการดาเนินงานภายในธุรกิจไว้ด้วยกัน (The Internally Integrated Company)
                ในระยะนี้องค์กรมีการพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างองค์กรของตนอย่างต่อเนื่องจากระยะที่ 2 โดยฝ่ายต่างๆ มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันทำให้มีการติดต่อประสานงานเชื่อมโยงระหว่างฝ่ายงานมากขึ้น การทำงานจึงมีความต่อเนื่องกันเหมือนห่วงโซ่ นอกจากนั้นกิจกรรมการผลิตบางอย่างยังสามารถที่จะใช้ทรัพยากรร่วมกันภายในองค์กรได้ด้วย ซึ่งเป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ในระดับหนึ่ง เช่น ฝ่ายผลิตกับฝ่ายขายอาจต้องมีการออกสำรวจความต้องการของผู้บริโภคไปพร้อมๆ กัน เพื่อให้ได้รับรู้ถึงพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคว่าขณะนี้มีความต้องการสินค้าประเภทใด ลักษณะใด เพื่อที่จะได้มีการวางแผนการผลิตเพื่อให้เกิดความพึงพอใจสูงสุดแก่ผู้บริโภค

ระยะที่ 4 องค์กรที่รวมการดาเนินงานภายนอกธุรกิจไว้ด้วยกัน (The Externally Integrated Company)
                ระยะนี้เป็นระยะที่บริษัทก้าวเข้าสู่รูปแบบการบริหารแบบซัพพลายเชนอย่างเต็มตัว โดยบริษัทได้ปรับโครงสร้างการบริหารแบบซัพพลายเชนภายในบริษัทของตนเองไว้เรียบร้อยแล้ว และเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับกลยุทธ์การบริหารลูกโซ่อุปทานภายนอก โดยเข้าไปทางานร่วมกับซัพพลายเออร์ในลักษณะที่เป็นเครือข่ายการทางานเดียวกัน เพื่อควบคุมคุณภาพการผลิตวัตถุดิบ คุณลักษณะของวัตถุดิบและวิธีการผลิตวัตถุดิบในโรงงานของซัพพลายเออร์ และ ในบางกรณีบริษัทผู้ผลิตอาจเปิดโอกาสซัพพลายเออร์เข้ามาเปิดสถานี หรือโรงงานย่อย เพื่อนำส่งวัตถุดิบให้กับริษัทได้อย่างสะดวก รวดเร็วและประหยัดต้นทุน




การบริหารจัดการซัพพลายเชน
                เป็นการจัดการที่ต้องอาศัยความร่วมมือของคู่ค้าที่เกี่ยวข้องในซัพพลายเชนเราเป็นสำคัญ องค์กรที่มีความรู้ในการบริหารจัดการดี ควรต้องถ่ายทอดแนวคิดและวิธีการปรับปรุงระบบงานและการประสานงานระหว่างองค์กรให้แก่องค์กรอื่น ๆ ในซัพพลายเชน การพัฒนาศักยภาพของซัพพลายเชนนั้น นอกจากระบบการประสานงานที่ดีภายในองค์กรแต่ละองค์กรแล้ว จะต้องพิจารณาความสามารถในการประสานระบบงานระหว่างองค์กรใน 3 ส่วนหลัก ได้แก่

1. ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการระหว่างกลุ่ม suppliers (Supply-management interface capabilities)
                เพื่อให้ระบบปฏิบัติการโดยรวมมีต้นทุนต่ำที่สุด มีระบบโลจิสติกส์ในการส่งผ่านวัตถุดิบ ผลิต และส่งมอบสินค้าที่มีประสิทธิภาพและสามารถใช้ประสิทธิภาพของระบบโลจิสติกส์ในการแข่งขันเชิงรุกเพื่อสร้างสรรค์ระบบการส่งมอบสินค้าที่รวดเร็ว ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น

2. ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า(Demand-management interface capabilities)
                เป็นระบบการบริหารจัดการเพื่อการให้บริการที่มีคุณภาพและการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ทั้งก่อน ระหว่าง และภายหลังการขาย เพื่อสร้างความได้เปรียบเพิ่มขึ้นในเชิงการแข่งขัน คุณภาพโลจิสติกส์ที่ต้องการคือ ความรวดเร็ว การมีสินค้าพร้อมจำหน่ายเมื่อลูกค้าต้องการ การส่งมอบสินค้าที่สมบูรณ์สอดคล้องตามความต้องการของลูกค้าและการมีระบบสื่อสารที่ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องหรือสอบถามและร้องเรียนกับทางบริษัทได้สะดวก ศักยภาพในการบริการยังหมายถึง ความสามารถในการให้บริการที่ยืดหยุ่นมากขึ้นในแง่ของการเปลี่ยนแปลงคาสั่งซื้อในเรื่องของปริมาร สถานที่ ชนิด ได้ในระยะเวลากระชั้นมากขึ้น ตลอดจนความสามารถในการผลิตและส่งมอบสินค้าในปริมาณมากด้วยความรวดเร็วได้เมื่อเกิดความต้องการสินค้าแบบไม่คาดหมายขึ้น

3. ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการสารสนเทศ(Information management capabilities)
                ระบบสื่อสารระหว่างองค์กรในซัพพลายเชนมีความสำคัญอย่างยิ่ง ก่อนที่บริษัทข้ามชาติจะเริ่มต้นประกอบการในประเทศต่าง ๆ จะต้องมีการวางโครงสร้างพื้นฐานทาง IT พิจารณาวางแผนกับปัญหาในเรื่องการประสานข้อมูลต่าง ๆ ทั้งในระบบองค์กรและระหว่างองค์กรโดยพัฒนาร่วมกันไปพร้อม ๆ กับการวางกลยุทธ์ ระบบสื่อสารที่ดีทำให้เกิดความรวดเร็วและประหยัดต้นทุนในการดำเนินงานได้มาก เมื่อเริ่มต้นประกอบการแล้วจึงมักได้เปรียบคู่แข่งในท้องถิ่นเสมอ ประเด็นที่ต้องพิจารณาในการพัฒนาระบบการสื่อสาร ได้แก่ ระดับเทคโนโลยี เช่น hardware, software การออกแบบและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระดับการใช้ประโยชน์ในข้อมูลร่วมกัน ข้อมูลในระดับปฏิบัติการ ข้อมูลด้านยุทธ์ศาสตร์ ข้อมูลทางการเงิน หรือข้อมูลในระดับเทคนิค และความสามารถในการเชื่อมต่อของระบบ เช่น ความรวดเร็วในการส่งผ่านข้อมูล ความรวดเร็วในการดำเนินการเมื่อได้รับข้อมูล และการจัดวางรูปแบบข้อมูลที่สามารถนำไปใช้งานต่อเนื่องได้ทันที


ปัญหาของการจัดการซัพพลายเชน
                การจัดการซัพพลายเชนให้ประสบความสำเร็จเป็นสิ่งที่ทุกองค์กรต้องการ อย่างไรก็ตามในบางครั้งการจัดการซัพพลายเชนอาจจะมีปัญหาเกิดขึ้น ซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้
                1. ปัญหาจากการพยากรณ์ การพยากรณ์ความต้องการสินค้าเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการจัดการซัพพลายเชน ซึ่งการพยากรณ์ที่ผิดพลาดมีส่วนสำคัญที่ทาให้การวางแผนการผลิตผิดพลาด และอาจจะทาให้ผู้ผลิตมีสินค้าไม่เพียงพอกับความต้องการของลูกค้าที่เกิดขึ้น
                2. ปัญหาในกระบวนการผลิต ปัญหาที่เกิดจากกระบวนการผลิตอาจจะทาให้ไม่สามารถผลิตสินค้าได้ตามเวลาที่กำหนดไว้ เช่น เครื่องจักรเสียทาให้ต้องเสียเวลาส่วนหนึ่งในการซ่อมและปรับตั้งเครื่องจักร
                3. ปัญหาด้านคุณภาพ ปัญหาด้านคุณภาพอาจจะส่งผลให้กระบวนการผลิตต้องหยุดชะงัก และทำให้ไม่สามารถส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้าได้ตามที่กำหนดไว้ นอกจากนั้นระบบการขนส่งที่ไม่มีคุณภาพสามารถส่งผลกระทบต่อผู้ที่อยู่ในโซ่อุปทานได้เช่นกัน
                4. ปัญหาในการส่งมอบสินค้า การส่งมอบที่ล่าช้าเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เรื่องของวัตถุดิบ งานระหว่างทำ และสินค้าสำเร็จรูป เช่น ซัพพลายเออร์ส่งมอบวัตถุดิบล่าช้า ทำให้ผู้ผลิตไม่สามารถผลิตสินค้าได้ตามตารางการผลิตที่กำหนดไว้ นอกจากนั้น ในระหว่างกระบวนการผลิต การส่งต่องานระหว่างทาที่ล่าช้าตามไปด้วยในกรณีที่ไม่สามารถปรับตารางการผลิตได้ทัน ยิ่งไปกว่านั้น การส่งมอบสินค้าสำเร็จรูปให้ลูกค้าล่าช้าจะส่งผลกระทบต่อระดับการให้บริการลูกค้าและความสามารถในการแข่งขันของกิจการ
                5. ปัญหาด้านสารสนเทศ สารสนเทศที่ผิดพลาดมีผลกระทบต่อการจัดการโซ่อุปทาน ซึ่งทำให้การผลิตและการส่งมอบสินค้าผิดไปจากที่กำหนดไว้ ความผิดพลาดในสารสนเทศที่เกิดขึ้นมีหลายประการ เช่น ความผิดพลาดในการสั่งซื้อวัตถุดิบ การกำหนดตารางการผลิต การควบคุมสินค้าคงคลัง การขนส่ง ฯลฯ
                6. ปัญหาจากลูกค้า ปัญหาที่เกิดจากลูกค้าเป็นความไม่แน่นอนอย่างหนึ่งของโซ่อุปทาน เช่น ลูกค้ายกเลิกคำสั่ง ในบางครั้งผู้ผลิตได้ทำการผลิตสินค้าไปแล้วส่วนหนึ่ง แต่ได้รับการยกเลิกคำสั่งซื้อจากลูกค้าในเวลาต่อมา จึงทำให้เกิดต้นทุนในการเก็บรักษาสินค้าคงคลังส่วนนั้นไว้

เทคโนโลยีสารสนเทศในซัพพลายเชน
                เทคโนโลยีช่วยในการจัดการซัพพลายเชน การจัดระบบซัพพลายเชนให้มีประสิทธิภาพนั้น กล่าวกันว่ามีองค์ประกอบที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นการจัดการในเรื่องความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ (Demand management) ให้ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด โดยดำเนินการต่อเนื่องตั้งแต่หน่วยที่เป็นต้นทางวัตถุดิบถึงขั้นสุดท้ายของกระบวนการจัดการระบบซัพพลายเชน การจัดหาสินค้าและผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วและมีคุณภาพ และความสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ขาดตลาดและที่สำคัญไปกว่านั้น คือการนำความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี (Technology) โดยเฉพาะทางด้านไอที ฮาร์ดแวร์ และซอฟแวร์ มาเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการให้ระบบซัพพลายเชนมีความต่อเนื่องไม่ติดขัด ด้วยการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาเชื่อมต่อกัน ก่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วและถูกต้องในการจัดเก็บและส่งข้อมูลไปยังหน่วยงานต่างๆ ในระบบห่วงโซ่อุปทาน โดยปัจจุบันเทคโนโลยีที่นิยมใช้ในระบบซัพพลายเชน ได้แก่
  •  ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business)
  •  การใช้บาร์โค้ด (Barcode)
  •  การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDI : Electronic Data Interchange)
  •  การใช้ซอฟแวร์ Application SCM

                อย่างไรก็ตามความร่วมมือกันบริหารงานในระดับซัพพลายเชนคงต้องมีกลไกให้มีการร่วมคิดร่วมพัฒนาระหว่างองค์กรอย่างต่อเนื่อง ความเข้าใจและการผลักดันของผู้บริหารระดับสูงของทุกองค์กรมีความสำคัญยิ่ง การจัดตั้งทีมงานร่วม (cross-functional team) ที่จะประกอบด้วยผู้ที่มีความรู้ความสามารถจากทุกองค์กรในซัพพลายเชนมาร่วมกันวางแผนหาจุดอ่อน และพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในภาพรวม จะช่วยสร้างความร่วมมือระหว่างกันได้รวดเร็วและเป็นรูปธรรม ความแตกต่างกันระหว่างองค์กรทั้งในเรื่องวัฒนธรรม แนวความคิด ขนาดองค์กร แนวทางการปฏิบัติงาน และเทคโนโลยี จะได้มีการปรับให้สอดคล้องกันมากขึ้นตามลำดับ เพราะเรามีเป้าหมายเดียวกันคือความสามารถในการแข่งขันและความพึงพอใจของลูกค้าเรานั่นเอง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น