e –
Procurement คืออะไร?
ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e – procurement)
เป็นระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการให้บริการที่เกี่ยวข้องในกิจกรรมการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ
เช่น การตกลงราคา การสอบราคา การประกวดราคา
และการจัดซื้อรวมแบบออนไลน์ รวมถึงการลงทะเบียนบริษัทผู้ค้า การทำ e – Catalog และการทำงานอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการจัดซื้อที่เป็น Web
Based Application เพื่อทำให้ระบบการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กล่าวคือ
ใช้ระยะเวลาจัดหาพัสดุน้อยลง และได้พัสดุที่มีคุณภาพในราคาที่เหมาะสม
รวมทั้งเพิ่มความโปร่งใสของกระบวนการจัดหาและสามารถติดตามตรวจสอบกระบวนการทำงานได้
• ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์
(e-Procurement) เป็นระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการให้บริการที่เกี่ยวข้องในกิจกรรมการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ
เพื่อทำให้ระบบการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กล่าวคือ ใ
ช้ระยะเวลาจัดหาพัสดุน้อยลง และได้พัสดุที่มีคุณภาพ ใ นราคาที่เหมาะสม
รวมทั้งเพิ่มความโปร่งใสของกระบวนการจัดหาและสามารถติดตามตรวจสอบกระบวนการทำงาน
• e-Procurement หมายถึง การทำงานในแต่ละขั้นตอนของระบบ
ข้อมูลจะถูกจัดส่งและจัดเก็บไปในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งข้อมูลเหล่านี้พร้อมที่จะถูกนำไปวิเคราะห์ต่อไป
โดยข้อมูลครอบคลุมตั้งแต่การค้นหาและเลือกสินค้าจาก e-Catalog การออกใบขอสั่งซื้อ
การรับและการอนุมัติใบขอสั่งซื้อการออกใบสั่งซื้อ การติดตามการสั่งซื้อ
การตรวจรับสินค้าและการชาระเงิน
• การพัฒนาระบบ e-Procurement ของการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐในประเทศไทย
ควรเป็นไปเพื่อหนุนเสริมการปฏิรูประบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐโดยรวม
วัตถุประสงค์ในการพัฒนาระบบ
e-Procurement ในประเทศไทย
- ความมีประสิทธิภาพ (Efficiency) จากการจัดซื้อสินค้าหรือบริการได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้
- ความพร้อมรับผิด (Accountability) และการสร้างระบบธรรมาภิบาล(Good Governance) โดยเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบระบบจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐควรต้องมีความพร้อมรับผิดต่อการตัดสินใจของตน
- ความโปร่งใส (Transparency) โดยกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างต้องเป็นกระบวนการที่เปิดเผยต่อสาธารณะ
- ความคุ้มค่า (Value for Money) เพื่อลดปัญหาการที่หน่วยงานรัฐมักซื้อสินค้าหรือบริการในราคาที่แพงกว่าของภาคเอกชน
ความมุ่งหมาย
ของ e-Procurement ในประเทศไทย
- ลดการรั่วไหลในระบบการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งจะนำไปสู่การลดค่าใช้จ่ายของ ภาครัฐ และส่งเสริมความโปร่งใสและธรรมาภิบาล ในการบริหารราชการแผ่นดิน
- ช่วยภาครัฐในการพัฒนาระบบการจัดซื้อจัดจ้างที่มุ่งไปสู่ระบบที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นโดยลดทรัพยากรที่ต้องใช้ไปกับการจัดซื้อจัดจ้าง
ประโยชน์ของการพัฒนาระบบ
e-Procurement
• เอกสารการยื่นประกวดราคา คำชี้แจงและคำอธิบาย
และข้อมูลการตัดสิน ผลการประกวดราคาของโครงการต่าง ๆ ที่ผ่านการคัดเลือกไปแล้วมีความชัดเจนและครบถ้วนสมบูรณ์
• การกระจายข้อมูล (Distribution) ไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องฝ่ายต่าง ๆ โดยเฉพาะ
ผู้ค้าที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการดังกล่าวซึ่งอาจใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น
การส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องไปยังผู้ค้าโดยไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) ให้มีความรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์
• การยื่นประกวดราคาผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bid Submission) ซึ่งต้องมีการออกแบบตู้รับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Vault) ที่มีความปลอดภัย ไม่สามารถเปิดได้ก่อนเวลาที่กำหนด
อันเป็นกระบวนการที่โปร่งใสและตรวจสอบได้ ทุกขั้นตอน
• การเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น
เพื่อให้เกิดบริการมูลค่าเพิ่ม (Value Added Service) ต่าง
ๆ เช่น บริการสนับสนุนผู้ค้า (Supplier Support
System) ต่าง ๆ เช่น
ระบบสนับสนุนการ จัดทำเอกสารประกวดราคา ระบบการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ การบริหารห่วงโซ่อุปทาน
(Supply Chain Management)
ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง
• การเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น
เพื่อให้เกิดบริการมูลค่าเพิ่ม (Value Added Service) ต่าง
ๆ เช่น บริการสนับสนุนผู้ค้า(Supplier
Support System) ต่าง ๆ เช่น
ระบบสนับสนุนการ จัดทำเอกสารประกวดราคา ระบบการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ การบริหารห่วงโซ่อุปทาน
(Supply Chain Management)
ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างการพัฒนาระบบ
e-Catalog จะมีผลให้สินค้าและบริการในอนาคต
ที่ส่วนราชการจัดหามีคุณภาพที่ดีในราคาที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น รวมทั้ง
มีทางเลือกในการพิจารณาจัดหาพัสดุได้มากยิ่งขึ้น
ขั้นตอนของระบบ
e-Procurement
• ค้นหาสินค้า/บริการที่จะซื้อผ่าน E-Catalog
• เลือกหมวดสินค้าที่ต้องการจะซื้อผ่าน E-Shopping List
• จัดประกาศเชิญชวนผ่าน Web-Site
• ผู้ขายเสนอคุณสมบัติของสินค้าทางอินเตอร์เน็ต (E-RFP)
• ผู้ซื้อตรวจสอบราคากลาง (E-RFQ) และ Track Record ของผู้ขาย
• ประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auction)
• ประกาศผล ผู้ชนะและส่งมอบ/ตรวจรับพัสดุ
• จ่ายเงินตรงด้วยระบบ E-Payment
ระบบ e–Catalog
เป็นมาตรฐานระบบ Catalog ที่รวบรวมรายละเอียดของสินค้าและบริการ ซึ่งอำนวยความสะดวกให้ผู้ค้า/ผู้รับจ้าง(Supplies) ที่มีคุณสมบัติทำธุรกรรมสามารถเข้ามา
ทำการแจ้งและปรับปรุงรายการสินค้า/บริการ ของตนเองได้ การจัดการ Catalog ของผู้ค้า/ผู้รับจ้าง
จะดำเนินการผ่านระบบมาตรฐานกลางโดยสามารถ Login เข้าสู่ระบบการจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐเพื่อปรับปรุงรายการสินค้า/บริการเพื่อให้ส่วนราชการสามารถเข้าสู่ระบบเพื่อค้นหาข้อมูลและพิจารณาสั่งซื้อจากสินค้า/บริการ
จาก e-Catalog ได้ตลอดเวลา
ระบบ e-RFP (Request for Proposal) และ e-RFQ (Request for Quotation)
เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกในขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์โดยวิธีสอบราคาหรือวิธีตกลงราคา
• ค้นหาข้อมูลผู้ขาย/ผู้รับจ้าง และข้อมูลคุณลักษณะเฉพาะของสินค้า/บริการ
(Specification) ของผู้ค้า/ผู้รับจ้าง ที่มาลงทะเบียนไว้
• แจ้งผู้ค้า/ผู้รับจ้าง ที่ได้รับการคัดเลือกในขั้นต้นโดยเป็นการแจ้งผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
• การยื่นข้อเสนอ (Quotation/Proposal) ของผู้ค้า/ผู้รับจ้าง
• การคัดเลือกผู้ค้า/ผู้รับจ้าง เพื่อรับงานซื้อ/จ้าง
จากหน่วยงานภาครัฐ
• การจัดทำใบขอซื้อ/ขอจ้าง
รวมทั้งขั้นตอนการอนุมัติต่างๆ
ระบบ e– Auction
ส่วนที่ 1 Reverse Auction เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกในด้านการประมูลซื้อให้ได้ในราคาต่ำสุด
ซึ่งจะใช้วิธีนี้ในกรณีที่สินค้า/บริการที่ต้องการจัดซื้อหรือจัดจ้าง e-RFP / e-RFQ มาดำเนินการประมูลผ่านทาง Internet แบบ Real-time ตามวันและเวลาที่กำหนด
โดยการประมูลจะมี 2 แบบ คือ
• English Reverse Auction เป็นการประมูลที่ผู้ซื้อจะทราบสถานะของ
การประมูลว่าผู้ที่เสนอราคาต่ำสุด เสนอราคาเท่าไร แต่ผู้เข้าประมูลจะไม่ทราบชื่อของผู้เข้าประมูลรายอื่น
ๆ
• Sealed Bid เป็นการประมูลที่ผู้ซื้อจะไม่ทราบสถานะของการประมูลและ
ราคาต่ำสุดของผู้ยื่นประมูล การยื่นข้อเสนอราคาแบบ Sealed Bid แบ่งเป็น
2 แบบ คือ แบบยื่นข้อเสนอได้เพียงครั้งเดียว
และยื่นข้อเสนอได้หลายครั้งภายในระยะเวลาที่กำหนด
ส่วนที่ 2 Forward Auction เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกในด้านการประมูลขาย
ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้กับการจำหน่ายพัสดุที่หมดความจำเป็นของหน่วยงาน
ภาครัฐโดยวิธีขายทอดตลาด ซึ่งเป็นการประมูลขายแบบผู้ชนะ คือ ผู้ที่เสนอราคาสูงสุด
ระบบ e‐Data Exchange
เป็นระบบการเชื่อมโยงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ค้า
เช่น
• การตรวจสอบความเป็นนิติบุคคล
โดยร่วมมือกับกรมทะเบียนการค้าและกรมสรรพกร
• การส่งข้อมูลในการตรวจสอบจำนวนเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรจากสำนักงบประมาณ
แผนการใช้จ่ายเงิน (Cash Management)
และการสั่งจ่ายเงิน
(Direct Payment) ของกรมบัญชีกลาง
• การส่งข้อมูลตรวจสอบการเสียภาษีของผู้ค้าและผู้รับจ้าง
โดยส่งข้อมูลสัญญาให้กรมสรรพากร และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
• การประกาศเชิญชวนผู้ค้าผ่าน Website หน่วยงานกลางที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมบัญชีกลาง
กรมประชาสัมพันธ์ และองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย
e-Market
Place
ตลาดกลางรวบรวมสินค้าและร้านค้าหรือบริษัทจำนวนมาก
เพื่อเป็นสื่อกลางในการซื้อ
E-Marketplace - ขายสินค้าระหว่าง E-Marketplace
E-Marketplace - ขายสินค้าระหว่าง E-Marketplace
ข้อดีของ e-procurement ในด้านของผู้ขาย
• เพิ่มปริมาณการขาย
• ขยายตลาด และได้รับลูกค้ากลุ่มใหม่
• ดำเนินการบริหารการขาย และกิจกรรมทางการตลาดในต้นทุนต่ำ
• เวลาของกระบวนการสั้นลง
• พัฒนาให้พนักงานมีประสิทธิภาพดีขึ้น
• กระบวนการประมูลเป็นไปในทิศทางเดียวกัน จะช่วยให้องค์กรสามารถลดงานที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่ากับองค์กรลง
และทาให้ฝ่ายจัดซื้อมีเวลาวางแผนในส่วนของการจัดซื้อเชิงกลยุทธ์ (Strategic sourcing) ซึ่งเป็นหน้าที่ที่สำคัญมากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น